เด็กแฝด 2 ขวบ ตกตึก 10 ชั้น ดับสลด แม่ไม่รู้เรื่อง โดยตอนเกิดเหตุกำลังนั่ง ไลฟ์เฟซบุ๊ก คุยกับคนในโลกโซเชียล แถมคดียังไม่ได้ข้อสรุป วันที่ 13 ก.ย.64 เว็บไซต์ เดลี่สตาร์ รายงานเหตุสุดสะเทือนใจซึ่งเกิดขึ้นที่โรมาเนีย ในเมืองโปลเยชต์ เขตปราโฮวา เป็นเหตุการณ์ที่เด็กชายโมอิส คริสเตียน เพทริซ และเด็กหญิงเบียทริซ-เอริกา เพทริซ ซึ่งเพิ่งจะฉลองครบ 2 ขวบ ไปเมื่อเดือนก่อน เกิดพลัดตกจากตึกที่พักชั้น 10 จนถึงแก่ชีวิต โดยที่ผู้เป็นแม่ แอนเดรีย ไวโอเลตา เพทริซ กำลังไลฟ์เฟซบุ๊กคุยกับคนในโซเชียลมีเดีย
ตามรายงาน ระบุว่า ในคืนวันที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมา เด็กทั้ง 2 คนถูกปล่อยให้อยู่ในความดูแลของ เอลินา ซึ่งเป็นเพื่อนของแม่เด็ก
โดยขณะกำลังเกิดเหตุทั้ง แอนเดรียและเอลินา ไม่รู้ตัวเลยว่าเหตุสลดได้เกิดขึ้น เพราะจากวิดีโอไลฟ์สตรีมผ่านเฟซบุ๊กของผู้เป็นแม่ ปรากฏเสียงไซเรนของรถพยาบาลฉุกเฉิน ก่อนจะมีเสียงคนเคาะประตูห้องและหลังจากนั้นเธอจึงหยุดไลฟ์สด
อย่างไรก็ตามหลังจากเกิดเหตุ แอนเดรียและเอลินา ต่างเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เหมือนกัน โดย แอนเดรีย เชื่อว่าลูกของเธอไม่สามารถลุกออกมาจากที่นอนเองได้ พร้อมกับกล่าวหา เอลินา ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของลูกเธอ
นอกจากนี้ แอนเดรีย ยังกล่าวหาว่า เอลินา มีการใช้สารเสพติดในช่วงที่เกิดเหตุด้วย อย่างไรก็ตา ผลตรวจจากโรงพยาบาลในภายหลังระบุว่าไม่พบสารเสพติดใดๆ โดยเธออ้างว่าเธอรักเด็ก ๆ เหมือนลูก เธอมักจะไปช่วยดูแลพวกเขาบ่อยครั้ง เพราะแอนเดรียมักจะละเลยไม่ค่อยสนใจลูก
ถึงตอนนี้คดีนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการสอบสวน ส่วน แอนเดรีย รายงานเผยว่า เธอต้องเข้ารับการบำบัดรักษาด้านจิตเวชหลังเกิดเหตุ
ทั้งนี้ แอนเดรีย ยังได้อัดคลิปแสดงความเศร้าโศกของเธอโพสต์ลงใน TikTok โดยมีภาพรำลึกถึงลูก ๆ ฝาแฝด และภาพพิธีศพลูก ที่ยังมีการนำดอกไม้ไปวางที่หลุมศพด้วย กูเกิล ถูก เกาหลีใต้ สั่ง ปรับเงิน กว่า 5.8 พันล้านบาท จากกรณีผูกขาดตลาด ด้านกูเกิ้ลเตรียมยื่นอุทธรณ์ ชี้ทำผู้บริโภคเสียประโยชน์
เมื่อวันที่ 16 กันยายน สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า หน่วยงานกำกับดูแลการผูกขาดของเกาหลีใต้ หรือ KTFC ได้สั่งปรับกูเกิลเป็นเงินกว่า 5.8 พันล้านบาท หลังจากที่ทางกูเกิ้ลห้ามไม่ให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนปรับแต่งระบบปฏิบัติการ แอนดรอย และกดดันให้บริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนติดตั้งระบบปฏิบัติการของกูเกิล
ซึ่ง KTFC ชี้ว่า สัญญาของบริษัทกูเกิลนั้นมีข้อบังคับที่จำกัดให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่างบริษัท ซัมซุง ให้ติดตั้งระบบปฏิบัติการของกูเกิล โดยทาง KTFC ยังระบุต่ออีกว่า สัญญาข้อตกลงของกูเกิลนั้น เป็นการจำกัดการแข่งขัน และขัดขวางการใช้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทอื่น
ทั้งนี้ทางกูเกิลออกมาแถลงโต้ตอบว่า การตัดสินดังกล่าวถือเป็นการมองข้ามประโยชน์การใช้งานแอนดรอยด์ร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ และเป็นการทำลายผลประโยชน์ของผู้บริโภค ซึ่งทางกูเกิลยืนยันว่าพวกเขาจะยื่นอุทธรณ์คำตัดสินดังกล่าวในเร็วๆนี้
ย้อนกลับไปช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทางการเกาหลีใต้ได้ผ่านร่างกฏหมาย สั่งห้ามไม่ให้ผู้ผลิตมือถือบังคับให้ผู้บริโภคจ่ายเงินผ่านระบบของตนเอง โดยกฏหมายดังกล่าวเป็นมุ่งเน้นไปที่กูเกิลและแอปเปิลที่บังคับให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 30
‘ไฟเซอร์’ เผยผลทดลองกับ เด็ก 5-11 ชี้วัคซีนปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ไฟเซอร์ ออกแถลงถึงผลทดลองการใช้วัคซีนกับ เด็ก ในช่วงอายุ 5-11 ปี ยืนยันวัคซีนปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเทียบเท่าผู้ใหญ่ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม สำนักข่าว รอยเตอร์ ระบุว่า บริษัท ไฟเซอร์ไบโอเอนเท็ค ผู้ผลิตวัคซีนไฟเซอร์ เปิดเผยว่าวัคซีนสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในเด็กอายุ 5-11 ปี หลังจากที่ทางบริษัทได้ทำการทดลองวัคซีนระยะที่สองและสามกับกลุ่มเด็กในช่วงอายุดังกล่าว ที่มีผู้เข้าร่วม 2,268 คน
ซึ่งจากผลทดลองพบว่าการตอบสนองดังกล่าวไม่ด้อยไปกว่าที่มีการบันทึกไว้ในการศึกษาก่อนหน้าในผู้ที่มีอายุ 16-25 ปี และมีข้อมูลด้านความปลอดภัยคล้ายกับในกลุ่มอายุที่สูงขึ้นเช่นกัน
เด็กอายุ 5-11 ปี จะได้รับวัคซีนจำนวนสองเข็มที่มีปริมาณโดสละ 10 ไมโครกรัม ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสามของขนาดโดสในบุคคลอายุ 12 ปีขึ้นไป ในระยะเวลาห่างกัน 21 วัน และการทดลองนี้ยังมีลักษณะที่ต่างจากการทดลองทางคลินิกที่กระทำในผู้ใหญ่
โดยไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวัดประสิทธิภาพของวัคซีนโดยการเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยโควิดในผู้รับวัคซีนกับผู้ที่ได้รับยาหลอกเป็นหลัก แต่การทดลองนี้เปรียบเทียบปริมาณแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ที่ถูกทำให้เกิดโดยวัคซีนในเด็ก เทียบกับการตอบสนองในผู้รับวัคซีนที่มีอายุมากกว่าในการทดลองกลุ่มผู้ใหญ่
การแถลงดังกล่าวยังระบุการคาดการณ์ว่า น่าจะได้รับข้อมูลว่าวัคซีนใช้งานได้ดีเพียงใดในเด็กกลุ่มอายุ 2-5 ปี และ 6 เดือน-2 ปี อย่างเร็วที่สุดในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง